วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ประพณีไทย



ประเพณีไทย



พจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายของคำว่า ประเพณีไทย ไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป ซึ่ง
เราอาจสรุปให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า ประเพณีไทย หมายถึง กิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ เป็นกฎระเบียบในการประพฤติปฏิบัติตน และมีความสำคัญต่อสังคมจนส่งอิทธิพลต่อสังคมในด้านต่างๆเช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ
ประเพณีของไทยนั้นให้ความสำคัญในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันเช่น มารยาทในห้องรับประทานอาหาร การให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส ผู้น้อยต้องรู้จักสัมมาคารวะให้ความเคารพผู้ใหญ่ ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม ที่รับเอาอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยและชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยการสร้างศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล อย่างไรก็ดีอิทธิพลจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์ และ การอพยพของชาวต่างชาติเช่น คนจีนก็มีอิทธิพลของประเพณีไทย
ประเพณีไทยนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่คือ ภาษา, ศิลปะ และประเพณี
  1. ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ตัวอักษรของภาษาไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงใน พ.ศ.1826 ตัวอักษรของภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี และสันสกฤต อีกทั้งยังได้รับได้รับอิทธพลมาจากภาษาต่างๆ ทั่วโลกเช่น บาลี, ขอม, มาเล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน ทำให้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยจนถึงปัจจุบัน
  2. ศิลปะไทย นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากพระราชาและชาววังครั้งแต่โบราณ และส่วนมากจะมีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ศิลปะการสร้างภาพวาดฝาหนังที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และพิธีกรรมทางศาสนา การสร่างสิ่งก่อสร้างในทางพระพุทธศาสนาเช่น เจดีย์, วัด, หรือสถูป ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่นการจัดงานประจำปี นอกจากนี้แล้ววัดยังเป็นสถานที่เรียนหนังสือกับเยาวชนและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนสถูป และเจดีย์ ถูกสร้างขึ้นขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระพุทธรูป หากบรรจุพระบรมสารีริกธาตของ พระพุทธเจ้าหรือของพระมหากษัตริย์นั้นก็จะเรียกว่าธาตุเจดีย์ และยังเป็นคติให้รำลึกถึงความเชื่อใน ศาสนาพุทธที่ว่าสังขารของคนนั้นไม่เที่ยงแท้ เมื่อมีการเกิดก็ย่อมต้องมีวันแตกดับได้เป็นไปตามปัจจัยของโลก คนไทยมีประเพณีสร้างเจดีย์เอาไว้ในวัดมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเตือนใจคนในสังคมไม่ให้ทำความชั่ว และหมั่นสร้างความดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในภพนี้และภพหน้า
  3. ประเพณีไทย แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย และความผูกพันกับความเชื่อและ พุทธศาสนาเช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น