วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย2


ตัวอย่างประเพณีไทย

ประเพณีสงกรานต์


ภาพ:สงกรานต์.jpg

        สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ คือ เป็นวันที่พระอาทิตย์โครจรย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของผู้รู้ทางโหราศาสตร์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 1 คำ เดือน 5 แต่การนับวันทางจันทรคตินี้ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จึงถือเอาวันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ แต่เดิมเราถือเอาวันสงกรานต์ เป็นวันปีใหม่ของไทย และแม้ว่าในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลเพื่อให้สอดคล้องกับนานาอารยปนะเทศ แต่ก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่มาจนถึงทุกวันนี้ และยังถือว่าวันที่ 15 เมษายน เป็นวันครอบครัวอีกด้วย
        ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี
ความสำคัญของวันสงกรานต์
1. เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี
2. เป็นวันทำบุญสร้างกุศล และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ


ภาพ:แห่ผ้าขึ้นธาตุ.gif
        ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นประเพณีประจำเมืองนครศรีธรรมราชอีกประเพณีหนึ่งซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งคือในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา โดยชาวนครศรีธรรมราช จะร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองตามกำลังศรัทธา แล้วรวบรวมเงินจำนวนนั้นไปซื้อผ้าเป็นชิ้นๆ ซึ่งมักจะเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีแดงแล้วนำมาเย็บต่อกันเข้าเป็นแถบยาวนับเป็นพันๆ หลา จากนั้นก็จะพากันแห่ผ้าดังกล่าวไปยัง วัดพระมหาธาตุมหาวิหาร โดยแห่ทักษิณาวรรตรอบองค์ พระธาตุ 3 รอบ แล้วจึงนำเข้าสู่วิหารพระม้าหรือพระ ทรงม้า ซึ่งเป็นพระวิหารที่มีบันไดขึ้นสู่ภายในกำแพงแก้ว ล้อมฐานพระบรมธาตุ เพื่อนำผ้านั้นไปพันโอบรอบฐาน องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้าเป็นการถวายสักการะอย่างหนึ่งประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุหรือพระธาตุเมืองนครศรี ธรรมราชนับเป็นประเพณีที่รวบรวมเอาศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาหล่อหลอมแสดงความเป็น เป็นปึกแผ่นในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างไม่เสื่อมคลาย

จัดหล่อเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทย



มจร.น่าน จัดหล่อเทียนพรรษา สืบสานประเพณีไทย สืบทอดพระพุทธศาสนา
       ที่ จ.น่าน พระครูสิริธรรมภาณี ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระธาตุแช่แห้ง วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เป็นประธานจัดหล่อเทียนพรรษาร่วมกับ คณะครู-อาจารย์ พระภิกษุ-สามเณร และนิสิตนักศึกษา คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา , คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ (การปกครอง) สาขารัฐศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระธาตุแช่แห้งวิทยาลัย สงฆ์นครน่าน ร่วมกันจัดประเพณีหล่อเทียนพรรษาขึ้น โดยเปิดโอกาสให้คณะศรัทธา-นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัด ได้ร่วมกัน หล่อเทียนพรรษา จำนวน 3 ต้น การจัดกิจกรรมหล่อเทียนพรรษาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีไทยที่มีมาแต่สมัยโบราณ และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา รวมถึงการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย
      
       สำหรับ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา ได้ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กล่าวคือ เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา บรรดาภิกษุสามเณรต้องเข้าจำพรรษาในวัดหรือสถานที่ ที่กำหนดตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยมิให้ไปค้างแรมที่อื่น ในการนี้พระภิกษุสามเณรจะมีการทำวัตร สวดมนต์ทุกเช้าเย็น
      
       ในสมัยโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้ยามค่ำคืน ต้องอาศัยแสงสว่างจากไส้ตะเกียงน้ำมัน หรือประทีปโคมไฟอื่น ๆ พุทธศาสนิกชนจึงร่วมในกันหล่อเทียนเข้าพรรษา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้จุดเวลาทำวัตรสวดมนต์ หรือจุดบูชาพระตลอด 3 เดือน การถวายเทียนพรรษาจึงถือเป็นอานิสงส์อย่างสูงสุด ดั่งความเชื่อว่า หากผู้ใดถวายเทียนซึ่งเป็นแสงสว่าง จะส่งผลให้ผู้นั้นมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และชีวิตรุ่งเรื่องดั่งแสงเทียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น